วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ตัวหนังสือไทย

ตัวหนังสือไทย



loading pictureloading picture
             จากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พบว่า มีข้อความที่กล่าวถึงเรื่องของตัวหนังสือไทย เอาไว้ตอนหนึ่งว่า  "เมื่อก่อนนี้ลายสือไทนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศกปีมะเมีย พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจ ในใจและใส่ลายสือไทนี้ ลายสือไทนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้"

            ได้มีผู้สันนิษฐาน เรื่องตัวหนังสือไทยไว้หลายแง่มุม เช่น จารึกอักษรที่ภาพชาดกที่ผนังอุโมงวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย น่าจะเป็นตัวหนังสือที่มีมาก่อนตัวหนังสือจากศิลาจารึกของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปรับปรุงตัวหนังสือเก่าที่เคยมีมาแล้ว จัดวางสระเสียใหม่ คำว่าใส่อาจหมายถึง การกระทำเช่นนี้ แต่ก็สรุปได้ว่า แต่ก่อนไม่มีตัวหนังสือไทยแบบนี้ และเท่าที่ทราบยังไม่เคยมีผู้ทราบว่า มีตัวหนังสือไทยแบบอื่นใช้มาก่อนสมัยกรุงสุโขทัย

            ไทยเราเป็นชาติที่เจริญเก่าแก่มาแต่โบราณกาล ได้มีการศึกษาค้นคว้ามาว่า ชาติไทยนั้น   เคยมีภูมิลำเนาอยู่ในดินแดน ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนในปัจจุบัน และเมื่อกาลเวลาผ่านไป   มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่าง ตามสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ภาษาพูด คนไทยเราเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญ   ที่เรายังคงไว้ ไม่เปลี่ยนแปลงไปง่ายง่ายเหมือนเรื่องอื่น แม้ในปัจจุบัน คนที่พูดภาษา ซึ่งพอจะย้อนไปได้ว่า ต้นตอเป็นภาษาไทย มีอาศัยอยู่ทั่วไป ในดินแดนที่กว้างใหญ่ของจีน ในมณฑลอัสสัมของอินเดีย ในรัฐฉานตอนเหนือของพม่า ในลาวทั้งหมด ในเวียดนามตอนเหนือ เรายังพอพูดพอฟังเข้าใจกันได้ ในเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน คำหลัก ๆ การสร้างรูปประโยค และไวยากรณ์ ยังคงอยู่

            ภาษาจีนและภาษาไทย จัดเป็นภาษาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เป็นภาษาที่กำหนดเอาเสียงหนึ่ง แทนความหมายหนึ่ง จึงมีคำที่มีเสียงโดดเสียงเดียวอยู่เป็นอันมากทำให้ต้องมีคำอยู่เป็นจำนวนมาก จึงต้องอาศัยการทำเสียงสูง เสียงต่ำ ให้มีความหมายแตกต่างกัน เพื่อให้มีเสียงพอกับคำที่คิดขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอ จึงต้องมีคำผสมของเสียงหลายพยางค์ เพิ่มเติมขึ้นอีก ความแตกต่างจากภาษาอื่นประการหนึ่งคือ เรามีเสียงวรรณยุกต์ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์วรรณยุกต์ขึ้น ๒ เสียง คือ เสียงเอก และเสียงโท ซึ่งเมื่อใช้ควบกับอักษรเสียงสูงและเสียงต่ำ หรือใช้อักษร "ห" นำอักษรเสียงต่ำ ที่ไม่มีคู่อักษรเสียงสูงแล้ว ก็สามารถผันเสียงได้ถึง ๕ เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา 

            ภาษาจีนก็มีเสียงที่เป็นวรรณยุกต์เหมือนกัน แต่ไม่มีเครื่องหมายเขียนในตัวหนังสือ เสียงวรรณยุกต์ของจีนนี้ บ้างก็ว่ามี ๔ เสียง และสูงสุดถึง ๘ เสียง 
ซึ่งเมื่อเทียบกับวรรณยุกต์ไทย ก็คงจะเป็นเสียง ที่เกิดจากวรรณยุกต์ ผสมกับสระเสียงสั้นเสียงยาว ซึ่งทางไทยเราแยกเสียงออกไปในรูปสระ ภาษาจีนและภาษาไทย
มีรูปประโยคที่เกิดจากการเอาคำมาเรียงกันเป็นประโยค ข้อแตกต่างของไวยากรณ์ไทย ที่ไม่เหมือนของจีน ที่สำคัญคือ คำคุณศัพท์ขยายนาม ภาษาไทยเราเอาไว้หลังนาม แต่จีนเอาไว้หน้านาม เช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ คำวิเศษณ์ที่ประกอบกริยา ภาษาไทยเอาไว้ตามหลังกริยา แต่ภาษาจีนมักไว้หน้ากริยา คำวิเศษณ์ที่ประกอบคุณศัพท์ ภาษาไทยเอาไว้หลังคุณศัพท์ แต่ภาษาจีนเอาไว้หน้าคุณศัพท์ และลักษณะนาม   ภาษาไทยจะไว้หลังนาม   แต่ภาษาจีนเอาไว้หน้านาม
ตัวหนังสือไทยต่างๆ นอกราชอาณาจักรไทย
อักษรขอมบรรจง
loading picture
อักษรมอญ
loading picture
loading picture
             ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ไทยเข้ามามีอำนาจ  ครอบครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนพม่า เมื่อได้ตั้งมั่นอยู่ในดินแดนลุ่มแม่น้ำอริวดีแล้ว ก็ได้แผ่อิทธิพล  เข้าครอบครองดินแดนทางตอนเหนือของสุวรรณภูมิ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ และได้พยายามแผ่อิทธิพล เข้ามาในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  แต่ถูกไทยยับยั้งไว้ แต่อิทธิพลของพม่า ได้ครอบคลุมไปถึงล้านนาไทยและไทยใหญ่ ทำให้ชาวไทยหลายเผ่า  ได้รับเอาตัวหนังสือของพม่า  ไปดัดแปลงใช้ จะเห็นว่าตัวหนังสือของไทยใหญ่ และกลุ่มคนไทยทางภาคเหนือหลายเผ่า มีลักษณะคล้ายตัวหนังสือมอญ และพม่า


อักษรพม่า

loading picture
loading picture
             ชาวไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักรไทยหลายเผ่า ต่างได้ดัดแปลงสร้างตัวหนังสือไทยขึ้น ใช้เขียนภาษาของตน ซึ่งภาษาไทยเท่านั้น เป็นสิ่งสำคัญที่เชื่อมโยงให้รู้ว่า กลุ่มคนเหล่านี้เป็นคน ที่มีเชื้อสายไทยด้วยกัน  ถ้าจะแบ่งเผ่าไทย ที่อยู่นอกราชอาณาจักรไทย อาจจะแบ่งได้เป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้ ๔ กลุ่มด้วยกันคือ             ๑. กลุ่มไทยน้อย ที่อยู่ในล้านนาไทย สิบสองปันนา ซึ่งอยู่ทางเหนือของไทย ได้แก่ ไทยลื้อ ไทยเขิน ไทยยอง เป็นต้น             ๒. กลุ่มไทย ที่อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอินโดจีน บริเวณอ่าวตังเกี๋ย พวกที่อยู่ในล้านช้าง หัวพันทั้งห้าทั้งหก ได้แก่ ลาว ไทยดำ ไทยขาว และอื่น ๆ             ๓. กลุ่มไทยใหญ่ ที่อยู่ในแคว้นฉาน ทางภาคเหนือของพม่า มีเมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงตุง เป็นต้น และพวกที่อพยพ เข้าไปในแคว้นอัสสัมของอินเดีย ได้แก่ ไทยอาหม ไทยขำตี่ และพวกอื่น ๆ             ๔. กลุ่มไทย ที่ยังคงอยู่ในดินแดนตอนใต้ และตะวันตกของจีน ได้แก่ พวกไทยโท้ ไทยนุง ไทยทุงเจีย และอื่น ๆ

ตัวหนังสือของกลุ่มพวกไทยน้อย             พวกล้านนาไทย และสิบสองปันนา อยู่ใต้อิทธิพลของพม่า รูปแบบตัวหนังสือของพวกไทยกลุ่มนี้ จึงมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรมอญ การเรียงคำควบกล้ำ ก็ใช้ตัวพยัญชนะเรียงซ้อนกันทางด้านตั้ง คือตัวหนึ่งอยู่บนอีกตัวหนึ่ง ลักษณะแบบเดียวกับอักษรมอญ และอักษรขอม แต่ก็ได้รับอิทธิพล ของตัวหนังสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชไปด้วย จึงมีรูปตัวหนังสือบางตัว มีรูปแบบผสมผสาน  ระหว่างอักษรมอญ กับอักษรไทยสมัยสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวอักษรไทยลื้อและไทยลานนา ได้รับเอาวรรณยุกต์ เอก โท ของไทยไปด้วย

   ตัวหนังสือไทยน้อยในแคว้นสิบสองปันนาหรือตัวหนังสือไทยลื้อ
loading picture
            พวกไทยน้อย อยู่ในดินแดนทางเหนือ ห่างไกลจากกัมพูชา ไม่ได้ถูกอิทธิพลของขอมครอบงำ ภาษาจึงไม่มีคำเขมรแทรกเข้ามาแม้แต่คำเดียว และตัวหนังสือที่ใช้ ก็เป็นเชื้อตัวหนังสือไทยเดิม ตัวหนังสือได้แบบมาจากมอญโบราณ ซึ่งมักเขียนเป็นตัวกลม โดยมิได้แปลงผ่านมาจากอักษรพม่า ตัวหนังสือไทยน้อยนี้ ได้เป็นต้นแบบของหนังสือธรรม ในภาคพายัพและภาคอิสานของไทย อักษรและสระของไทยลื้อ มีดังนี้             พยัญชนะมีพยัญชนะ ๒๗ ตัว คือ ก  ข  ค  ง  จ  ช  ญ  ฏ  ฑ  ณ  ต  ถ  ท  ธ  น  บ  ป  ผ  พ  ฟ ม  ย  ร  ล  ว  ส  ห             สระ  มีอยู่ ๑๖ รูป ด้วยกันคือ  ะ  ๆ     ิ     ี     ึ     ื   ุ     ู    เ  แ  โ  อ  เ ือ  ำ  ไ  เ า

   ตัวหนังสือไทยล้านนา
loading picture
loading picture
loading picture
            กลุ่มคนไทยในดินแดนล้านนาไทย ได้แก่ เมืองเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และบริเวณทางเหนือขึ้นไป เป็นกลุ่มคนไทยที่ตั้งเป็นบ้านเมือง มีพระมหากษัตริย์ปกครองเป็นปึกแผ่นอยู่แล้ว ก่อนที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ทรงตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และสร้างราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น  ไทยล้านนา จึงมีประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งของตนเองโดยเฉพาะ มีศิลาจารึกหลายแผ่น ที่พบทางแคว้นล้านนา และมีคัมภีร์ที่จารลงบนใบลาน เป็นจำนวนมาก แสดงว่าไทยล้านนา  ได้สร้างตัวอักษรไทยล้านนาขึ้น และได้ใช้อยู่ก่อนลายสือไท  ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่ภายหลัง เมื่อมีลายสือไทขึ้นแล้ว ไทยล้านนาก็รับเอาลายสือไทเข้าไปใช้ด้วย แต่วิธีเขียน ยังคงอาศัยแบบอักษรมอญ

           พยัญชนะตัวหนังสือล้านนา                 มีอยู่ ๔๓ ตัว ด้วยกัน คือ  ก  ข  ค  ต  ฆ  ง  จ  ฉ  ช  ซ  ฌ  ญ  ฏ  ฐ  ฑ  ฒ  ณ  ต  ถ  ท  ด  ธ  น  บ  ป  ผ  ฝ  พ  ฟ  ภ  ม  ย  ร  ล  ว  ศ  ษ  ส  ห  ฬ อ  ฮ  ยิ            สระลอย                 มีอยู่ ๘ ตัว คือ    อะ   อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ             สระจม                 มีอยู่ ๒๘ ตัว คือ  ะ  า   ิ     ี     ึ     ื   ุ    ู    เ-ะ  เ-  แ-ะ  แ-  โ-ะ  โ  เ-าะ  -อ  เ-อะ  เ-อ  เ-ียะ  เ-ีย  เ-ือะ  เ-ือ -ัวะ  -ัว  -ำ  ไ-  ไย  เ-า
ตัวหนังสือของกลุ่มไทยที่อยู่ตอนเหนือของอินโดจีน             การอพยพของเผ่าไท ได้ทะยอยกันมาหลายละลอก มีพวกเผ่าไทยอพยพเข้าไปอยู่ในตังเกี๋ย เป็นจำนวนมาก และได้แพร่ไปถึงเกาะไหหลำ พวกไหหลำ เรียกชื่อคนพวกนี้ว่า พวกลอยหรือลี้ การอพยพได้อาศัยหลักการอพยพ เข้าไปสู่ต้นน้ำของลุ่มน้ำสำคัญ  แล้วเคลื่อนที่ต่อตามลำน้ำนั้น ลงไปทางปากแม่น้ำ เผ่าไทยที่อพยพมาทางตังเกี๋ย ได้ยึดแนวแม่น้ำดำ และแม่น้ำแดง ซึ่งต้นน้ำอยู่ทางเทือกเขา ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ไหลผ่านทางเหนือของเวียดนาม มาลงทะเลที่อ่าวตังเกี๋ย ได้ตั้งบ้านเมืองในท้องที่ต่าง ๆ  ตามลุ่มน้ำทั้งสอง และลุ่มน้ำอื่น ๆ  ที่ไหลไปทางตะวันออก และลงทะเลที่อ่าวตังเกี๋ยทั้งสิ้น ดินแดนแถบทางเหนือของเวียดนามนี้ เป็นดินแดนที่ครอบคลุมแคว้นสิบสองปันนา หัวพันทั้งห้าทั้งหก เมื่อได้ตั้งบ้านเมืองแล้ว ก็ปกครองตนเองเป็นอิสระ และตั้งชื่อเผ่าของตนต่าง ๆ กันไป เช่น ไทยขาวอยู่ทางลุ่มแม่น้ำดำตอนบน ไทยดำอยู่แถวเมืองแถนหรือเดียนเบียนฟูในปัจจุบัน ไทยแดงอยู่ในเขตซำเหนือ พวกผู้ไทยอยู่ในลาวตอนเหนือ และในมณฑลแห่งอันของเวียดนาม ไทยเลียบน้ำอยู่แถบเมืองอังฮั้วในเวียดนาม และไทยล้านช้างก็ได้ตั้งเป็นราชอาณาจักรลาว             การคิดดัดแปลงตัวอักษร ของบรรดาเผ่าไทยเหล่านี้  ได้รับอิทธิพลจากลายสือไทของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชอยู่มาก และได้รับแบบและความคิดไปจากอักษรลานนาไทย    ตัวหนังสือลาว
loading picture
loading picture

            ตามพงศาวดาร โอรสของพ่อขุนบรมแห่งราชอาณาจักรน่านเจ้า ได้แยกย้ายกันไปปกครองเผ่าไทยในถิ่นต่าง ๆ ขุนลอ ได้มาปกครองอาณาจักรล้านช้างหรือกรุงศรีสัตนาคนหุต อันเป็นประเทศลาวมีเมืองสำคัญ คือ เมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นเมืองที่ราชอาณาจักรสุโขทัยแผ่อำนาจไปถึง อิทธิพลของอักษรไทยจึงได้ไปกำหนดรูปแบบ ในตัวอักษรลาวอยู่มาก รูปแบบของหนังสือลาวในปัจจุบัน เป็นรูปแบบที่เห็นได้ชัดเจนว่า ได้พัฒนาตามแบบตัวหนังสือไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นตัวหนังสือไทยเผ่าเดียว ที่ได้สร้างตัวอักษรใกล้เคียงกับอักษรไทยปัจจุบันมากที่สุด ลาวรับเอาตัวหนังสือไทยไปใช้เท่าที่จำเป็น แต่ได้รับเอาสระไปใช้เป็นส่วนใหญ่ และรับวรรณยุกต์ไปหมดทุกตัว

       พยัญชนะตัวหนังสือลาว                 มี ๒๗ ตัว  คือ  ก  ข  ค  ง  จ  ส  ช  ญ  ด  ต  ถ  ท  น  บ  ป  ผ  ฝ  พ  ฟ  ม  ย  ร  ล  ว  ห  อ  ฮ             สระ                 มี 28 รูป คือ  ะ  า      ิ     ี     ึ     ื   ุ     ู    เ-ะ  เ-  แ-ะ  แ-  โ-ะ  โ-  เ-าะ  อ-ัง  -ัวะ  -ัว  เ-ียะ  เ-ีย  เ-ือะ  เ-ือ  เ-ิ  ไ-  ใ-  เ-า  -ำ            วรรณยุกต์                 มี ๔ รูป คือ   ่     ้     ๊     ๋ ตัวหนังสือพวกเผ่าไทยในตังเกี๋ย             เนื่องจากเผ่าไทยในตังเกี๋ยอยู่กันกระจัดกระจาย ปนอยู่กับชนชาติอื่น ๆ การคมนาคมติดต่อกันยากลำบากเพราะภูมิประเทศไม่อำนวย ดังนั้นจึงต่างดัดแปลงตัวหนังสือขึ้นใช้กันเอง แต่พื้นฐานตัวหนังสือหลักที่ใช้เป็นแม่แบบ คงอาศัยอักษรไทยล้านช้างหรือลาวเป็นหลัก และรับไปใช้เท่าที่จำเป็นแล้วไปจัดเรียงลำดับเอาเองโดยไม่ได้อาศัยแบบแผนเดิม 
           หนังสือไทยขาวเมืองไล             มีพยัญชนะ ๓๐ ตัว คือ       ก  ข  ค  ฆ  ง  จ  ฉ  ช  ญ  ด  ต  ถ  ท  ธ  น  บ  ป  ผ  ฝ  พ  ฟ  ภ  ม  ย  ร  ล  ว  ส  ห  อ             มีสระ ๙ ตัว คือ       กา  กิ  กี  กุ  เก  แก  ไก  โก  เกา         ตัวหนังสือไทยดำ             มีพยัญชนะ ๒๕ ตัว คือ         ก  ข  ค  ฆ  ง  จ  ช  ญ  ด  ต  ถ  ท  ธ  น  บ  ป  ฝ  พ  ฟ  ย  ล  ว  ส  ห  อ             มีสระ ๑๓ ตัว คือ       กา  กิ  กี  กุ  เก  แก  เดิน  เสือ  เลีย  ไป  ใจ  โด  เขา            ตัวหังสือเจ้าไทยเมืองอึงฮั้ว             มีพยัญชนะ ๒๓ ตัว คือ        ก  ข  ฆ  ง  จ  ช  ด  ต  ถ  ท  น  บ  ป  ผ  พ  ภ  ม  ย  ล  ว  ส  ห  อ             มีสระ ๑๑ ตัว คือ         กา  กิ  กี  กุ  เก  แก  เดิน  เสือ  เมีย  ไป  เหา         ตัวหนังสือผู้ไทยมณฑลเหงอัน             มีพยัญชนะ ๒๓ ตัวคือ         ก  ข  ค  ง  จ  ช  ญ  ด  ต  ถ  ท  น  บ  ป  ผ  ฝ  ฟ  ม  ว  ล  ส  ห  อ             มีสระ ๑๒ ตัว คือ        กา  กิ  กี  กุ  เก  แก  เกือ  เกีย  ไก  ใก  โก  เกา         ตัวหนังสือไทยเลียบน้ำ มณฑลเหงอัน             มีพยัญชนะ ๒๐ ตัว คือ      ก  ข  ง  จ  ช  ญ  ด  ต  ถ  น  บ  ป  ผ  ม  ย  ล  ว  ส  ห  อ             มีสระ ๑๒ ตัว คือ      กา  กิ  กี  กุ  เก  แก  เกือ  เกีย  ไก  ใก  โก  เกา